พ่อแม่เด็กโพสต์เตือนอุทาหรณ์ หลังลูกชายตัวน้อยถูก งูเห่าฉก อาการโคม่า คาดเกิดจากแผ่นปูนที่วางไว้ในบ้าน อัปเดตล่าสุด นิ้วข้างถูกกัดดีขึ้น เหตุการณ์ เด็กน้อยคนหนึ่งเคราะห์ร้ายต้องมาถูกเจ้าอสรพิษร้ายฉกเข้าที่แขน ได้รับการเปิดเผยจากพ่อแม่ผู้ปกครองท่านหนึ่งซึ่งออกมาโพสต์แจ้งข้อมูลเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับพ่อแม่ท่านอื่นๆ โดยได้ลงข้อมูลไว้เมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา กับวินาทีสุดช็อก ซึ่งข้อความทั้งหมดระบุว่า
“เป็นบทเรียนจนวันตายเลย อย่าเอาแผ่นหิน แผ่นปูนมาวางไว้ในบ้านกันน่ะครับ
สัตว์มีพิษจะเข้าไปอยู่ อันตรายมาก โดยเฉพาะกับเด็กเล็กและคนแก่ จนตอนนี้ผ่านมา 6 ชม. ลูกผมยังโคม่าอยู่เลย ให้น้ำเกลือยาฆ่าเชื้อ เจาะเลือด ตรวจทุกอย่างจนพรุนไปหมด ให้ยาแก้แพ้แล้ว รอฉีดเซรุ่มแก้พิษงูเห่า เวลาทุกนาทีตอนนี้ผ่านไปอย่างเชื่องช้า และมีค่ากับชีวิตมาก ขอให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี รอดมาดูความสวยงามของชีวิตน่ะลูก ใจพ่อจะขาดแล้ว”
สำหรับอาการล่าสุดของน้อง คุณพ่อได้อัปเดตความคืบหน้า โดยระบุว่า 26 ชม. ผ่านไป ได้รับข่าวดีขึ้นมาบ้าง นิ้วมือข้างที่กัด เริ่มกลับมากระดิกได้แล้ว เนื้อยังไม่ตาย ความหวังกลับมาอีกครั้ง
ทสม. เผย ได้รับแจ้งว่าเกิด น้ำมันดิบรั่ว กลางทะเลระยองซ้ำอีกครั้ง คาดราวๆ 5,000 ลิตร กำลังมุ่งสู่หาดแม่รำพึง เมื่อวันนี้ 10 ก.พ. 2565 บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานท่าเรืออุตสากรรมมาบตาพุด ระบุว่า เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลเมื่อเวลา 09.20 น. พบฟิล์มน้ำมันดิบ (สีเงิน) ทิศเหนือ ห่างจากทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเลหรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ประมาณ 3 ไมล์
เบื้องต้นพบว่าน้ำไม่รั่วไหลขนาดเล็ก ไม่เกิน 20 ตัน ด้าน SPRC ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินน้ำมันรั่วไหล Tier 1 แล้ว
ด้านศูนย์บัญชาการฯ จังหวัดระยอง นำโดย .ว่าที่ร.ต.พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่าฯระยอง ได้แถลงสถานการณ์เมื่อเวลาประมาณ 4 โมงเย็น ประเมิน และคำนวณช่วงปริมาตรน้ำมันรวมที่ค้างท่อ อยู่ระหว่าง 47,100 ถึง 55,000 ลิตร ส่วนที่รั่วอยู่ที่ประมาณ ไม่เกิน 5,000 ลิตร คาดการณ์ว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
หนุ่ม 19 ดิ่งชั้น 2 หวังหนีผิด อายถูกจับได้แอบถ่ายพี่สาวอาบน้ำ
หนุ่ม 19 ถูกพี่สาวจับได้ แอบถ่ายตอนกำลังอาบนํ้า ตัดสินใจกระโดดอาคาารชั้น 2 หวังจบชีวิตหนีความผิด แต่โชคดียังรอดชีวิต
วันที่ 10 ก.พ.65 เจ้าหน้าที่มูลนิธิพุทไธสวรรย์ ได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่า มีคนกระโดดอาคารศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสูง 3 ชั้น (ศาลากลางหลังเก่า) ต.ประตูชัย จ.พระนครศรีอยุธยา เข้าไปตรวจสอบด้านหลังศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวพบชายวัยรุ่นนอนหายใจรวยริน มีเลือดออกที่ศีรษะ นอนขอความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่จึงปฐมพยาบาลก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
หลังเกิดเหตุหนุ่ม วัย 19 ปี ยอมรับว่า ตั้งแต่ถูกพี่สาวจับได้ตัวเองก็มีอาการเครียดอย่างหนักมาหลายวัน กลัวพอ่แม่รู้แล้วจะโดนทำโทษ ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร โดยวันที่ตัดสินใจกระโดดจากชั้น 2 ของอาคารศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวอยุธยา ได้ขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านก่อนเดินขึ้นมายังชั้น 2 แล้วได้ทำการกระโดดลงไปหวังจบชีวิตตัวเอง
ด้าน พยานผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าวว่า มีอาชีพขับรถส่งนักเรียน ขณะที่เอาขยะไปทิ้ง มองเห็นคนนอนอยู่และยกมือไปมา ตนเองคิดว่าคนเมา ก็เลยเดินมาดูพบว่าเป็นเด็กหนุ่ม และมีเลือดออกที่ศีรษะ จึงสอบถามว่าเป็นอะไร เด็กบอกว่ากระโดดลงมา ทำให้ตนรีบแจ้งโรงพยาบาลและมูลนิธิก็มาตรวจสอบให้ความช่วยเหลือ
ดังนั้น เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาท จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ตายมีส่วนประมาทแต่อย่างใด บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีเจตนารมณ์ในการรักษาเสถียรภาพธุรกิจประกันของไทยให้มีความมั่นคง ซึ่งต้องตั้งอยู่บนความเชื่อมั่นของประชาชน โดยเรื่องร้องเรียนนี้มีประเด็นความขัดแย้งระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยที่บริษัทฯ ไม่อาจชี้ชัดหรือพิสูจน์ให้ชัดแจ้งได้ ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้สูญเสีย ไม่ได้รับการเยียวยาจากความขัดแย้งที่บริษัทฯ หยิบยกขึ้นมา ทั้งที่กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีคำตัดสินบนข้อเท็จจริงอันเป็นที่สุดแล้ว เช่นนี้ย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อธุรกิจประกันวินาศภัยในภาพรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การกระทำของบริษัทฯ จึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนข้อตกลงแห่งสัญญาประกันภัย หรือข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่มีความชัดเจน ให้บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย อันเป็นความผิดฐานประวิงการจ่าย ค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา 36 อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการเปรียบเทียบฯ จึงมีมติให้เปรียบเทียบปรับบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในอัตราโทษสูงสุดเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 1,858,400 บาท และปรับรายวัน วันละ 20,200 บาท จนกว่าจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิต